หน้าเว็บ

ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวณัฐกุล ม่วงมณี ชั้นม.4/2 เลขที่18 ^^

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซของคน

ปอด เป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ในการหายใจ หน้าที่หลักของปอดก็คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยการประกอบกันขึ้นของเซลล์เป็นจำนวนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเป็นถุงเหมือนลูกโป่ง ซึ่งในถุงลูกโป่งนี้เองที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้น นอกจากการทำงานแลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว ปอดยังทำหน้าที่อื่นๆอีก
การกำจัดของเสียทางปอด กำจัดออกมาในรูปของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นผลที่ได้จากกระบวนการหายใจ โดยน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดและเลือดจะทำหน้าที่ลำเลียงไปยังปอด แล้วแพร่เข้าสู่ถุงลมที่ปอด หลังจากนั้นจึงเคลื่อนผ่านหลอดลมแล้วออกจากร่างกายทางจมูก ซึ่งเรียกว่ากระบวนการ metabolism
 วัสดุอุปกรณ์
               1. ปอดหมู       
               2. เครื่องมือผ่าตัด ถาดผ่าตัด
               3. สายยางขนานเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5cm
               4.ถุงมือยาง
 ให้นักเรียนสวมถุงมือยาง นำปอดไปล้างให้สะอาดและดำเนินการดังนี้
1.ให้พิจารณาลักษณะและโครงสร้างของปอด
2.ตัดหลอดลม ลองใช้นิ้วมือบีบแล้วปล่อย สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากนั้นสังเกตการจัดเรียงตัวของกระดูกอ่อน และรูปร่างของกระดูกอ่อนที่ประกอบกันเป็นหลอดลม
3.ผ่าเนื้อปอด ศึกษาลักษระภายในของปอด และขั้วปอด ใช้สายยางสอดเข้าไปในหลอดลมแล้วที่ใช้สูลลมสูบเข้าไป สังเกตการเปลี่ยนแปลง (ห้ามใช้ปากเป่า)
4.ทำเช่นเดียวกับข้อที่ 3. แต่เปลี่ยนแปลงและตำแหน่งที่กรีดเนื้อปอด
5.สังเกตทางเดินอหารเรียงลำดับตั้งแต่กล่องเสียง ว่าจะไปสิ้นสุดที่ใด
6.ศึกษาโครงสร้างของปอดพร้อมกับชี้ส่วนประกอบ
 จากการที่กลุ่มของพวกเราได้ดำเนินการทำกิจกรรมสังเกตเห็นว่า
ปอดมีสีแดงเพราะตามถุงลมจะมีหลอดเลือดฝอยไปหล่อเลี้ยง
ลักษณะรูปร่างและขนาดของปอดซ้าย และปอดขวาที่สังเกตได้แตกต่างกันคือ
ปอดซ้ายมี 2 พู ปอดขวามี 3 พู ปอดซ้ายเล็กกว่าปอดขวาเล็กน้อย เนื่องจากด้านซ้ายมี
หัวใจอยู่ด้วย เมื่อใช้นิ้วมือบีบหลอดลมแล้วปล่อย หลอดลมมีการเปลี่ยนแปลง คือ
หลอดลมจะกลับคงรูปเดิมลักษณะของหลอดลม การจัดเรียงตัวของกระดูกอ่อน และลักษณะของกระดูกอ่อนและถุงลมมีความเหมาะสมต่อการทำหน้าที่คือ 
หลอดลมมีกระดูกอ่อนเป็นวงเรียงตัวต่อ ๆ กัน และปลายกระดูกอ่อนแต่ละชิ้นจะไม่ชนกัน มีกล้ามเนื้อเชื่อมระหว่างปลาย จึงมีลักษณะเหมือนกระดูกซี่โครงงูหรือรูปเกือกม้า มีความยืดหยุ่นทำให้หลอดลมไม่ตีบแบน สามารถขยายตัวได้เล็กน้อย จึงมีประโยชน์ทำให้อากาศเข้าและออกจากปอดได้สะดวก และการที่ถุงลมมีปริมาณมาก ช่วยให้มีพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สได้มาก
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น